พัฒนาครูกระบวนการสอนคิดด้วยกระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา
วันที่รับสมัคร 1 พ.ย. 66 - 31 พ.ค. 67
คำอธิบายหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะครูกระบวนกรสอนคิดด้วยกระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาโดยเน้นกระบวนการคิดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อทำความเข้าใจวิธีคิดและกระบวนการสอนคิดจากภูมิปัญญาโบราณจนถึงองค์ความรู้ในศตวรรษที่ 21 ฝึกทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา
ประเภทของหลักสูตรระยะสั้น
เข้าระบบคลังหน่วยกิต
วัตถุประสงค์
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาแบบพุทธจิตตปัญญาศึกษา เมื่อสิ้นสุดหลักสูตร ผู้เข้าร่วมจะมีความเข้าใจอย่างมั่นคงในหลักการและปรัชญาของการศึกษาแบบพุทธจิตตปัญญาศึกษา รวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เข้าร่วมจะได้รับกลยุทธ์และเทคนิคเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในตนเองและฝึกทักษะการคิดของนักเรียน ช่วยให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและมีความหมายมากขึ้น
- ฝึกทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธจิตตปัญญาศึกษา ผู้เข้าร่วมจะได้รับความพร้อมในการใช้วิธีปฏิบัติในการใคร่ครวญ เช่น การทำสมาธิแบบเจริญสติ และการซักถามด้วยความเห็นอกเห็นใจ ในวิธีการสอนของตนและทักษะกระบวนกรแนวพุทธจิตตปัญญาศึกษา
- พัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อประยุกต์ใช้ เมื่อสิ้นสุดหลักสูตร ผู้เข้าร่วมจะพัฒนาแผนปฏิบัติการที่เหมาะกับบริบทการสอนของตน โดยสรุปแนวทางที่จะนำหลักพุทธจิตปัญญาศึกษาไปใช้ในการสอนคิดอย่างไรในห้องเรียน
ระยะเวลาของหลักสูตร
หลักสูตรอบรม 30 ชั่วโมง (วัน 3 วัน 2 คืน)
ช่วงวันรับสมัคร
1 พ.ย. 66 - 31 พ.ค. 67
ช่วงเวลาเรียน
วันที่ 21-23 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-17.00 น.
กลุ่มเป้าหมาย
- บุคลภายนอก ครู อาจารย์ กระบวนการ วิทยากร นักฝึกอบรม หรือผู้สนใจการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 คน/รุ่น
รูปแบบกิจกรรม
- onsite ณ ศาลาฝึกอบรม วัดวังตะกู อ.เมือง จังหวัดนครปฐม
ขอบข่ายเนื้อหา
- แนวคิดเกี่ยวกับการคิดและประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษยชาติและวิธีคิดตามแนวไสยศาสตร์
- วิธีคิดตามแนวศาสนาและปรัชญา
- วิธีคิดในศตวรรษที่ 21
- วิธีคิดตามแนวพุทธวิธี
- กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธจิตตปัญญาศึกษา
- เครื่องมือสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
- ฝึกทักษะกระบวนการสอนคิดด้วยกระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา
การวัดผลประเมินผล
- การทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ต้องผ่าน 60 เปอร์เซน
- ร่วมเรียนรู้ในกระบวนการอบรมไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซน
- ส่งชิ้นงานไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับวิธีคิดรูปแบบต่าง ๆ
- ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสอนคิดด้วยกระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา
- ผู้เข้าอบรมมีทักษะการจัดกระบวนการสอนคิดด้วยกระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา