รำโนรา
คำอธิบายหลักสูตร
ศิลปะการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ซึ่งมีมาแต่โบราณและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ “มโนห์รำ” หรือที่ชาวปักษ์ใต้นิยมพูดตัดคาให้สั้นลงว่า “โนรา” มโนห์ราหรือโนรา เป็นการเล่นที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ไม่ว่างานเทศกาล นักขัตฤกษ์หรืองานมงคลต่าง ๆ ก็มักจะมีโนรามาแสดงด้วยเสมอ โนราเป็นการแสดงทำนองเดียวกับละครชาตรีที่เล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง ที่กล่าวว่าเหมือนกันก็คือมีการร่ายรำ มีบทร้อง บทเจรจาและการแสดงเป็นเรื่องราวก็มี
เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปะการรำโนรา ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญยิ่งของภาคใต้ บุคลากรและนักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปได้ตระหนักและเห็นความสาคัญของศิลปะการรำโนรา อันจะส่งผลต่อนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน และเป็นการเพิ่มพูนทักษะด้านศิลปะการแสดงแขนงต่าง ๆ
สาขานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงจัดโครงการหลักสูตรระยะสั้น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ รำโนรา ในครั้งนี้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติท่าราพื้นฐาน โนรา ได้
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถราประสมท่าสาหรับการแสดงได้
ระยะเวลาของหลักสูตร
หลักสูตรอบรม 2 วัน
ช่วงวันรับสมัคร
1 พ.ย. 66 - 14 มิ.ย. 67
ช่วงเวลาเรียน
วันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2567
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน/นักศึกษา ตลอดจน ครู อาจารย์ บุคคลทั่วไป จำนวน 80 คน
รูปแบบกิจกรรม
- onsite ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ขอบข่ายเนื้อหา
- ประวัติความเป็นมา รำโนรา
- ปฏิบัติท่ารำพื้นฐาน รำโนรา
- รำประสมท่าสำหรับการแสดง
การวัดผลประเมินผล
- การทำ workshop ตลอดจนระยะเวลาของการเข้าร่วมอบรม 80 %
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ รำโนรา ตามกระบวนท่า ได้ 80 %
- ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถรำประสมท่าได้ 80 %